องค์ความรู้ด้านวิชาการ

หลักการใช้ Peer Assist เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงกว้าง

ศาสตราจารย์วิจารณ์ พานิช

ได้เปิดเผยว่า ความรู้ที่สร้างขึ้นจาก Action เป็น Tacit Knowledge (TK)เกือบทั้งหมด เมื่อทำ reflection และสังเคราะห์เป็น Explicit Knowledge (EK) ก็ได้เป็นผลงานวิจัยแบบ Action Research เมื่อจะเอาไปใช้ที่อื่น ก็ต้องแปลง EK ไปเป็น TK ของอีกบริบทหนึ่ง แต่ Peer Assist เป็นการ ลปรร. TK โดยตรง ต่อกันง่ายกว่า และได้ ลปรร. ความรู้ส่วนที่เป็น contextual knowledge ด้วย ในสถานการณ์ที่ไม่ห่างไกลกัน การถ่ายทอด (หรือ ลปรร.) ความรู้ปฏิบัติผ่าน KM จึงได้ผลดีกว่า

ในการประชุม 2nd Global Symposium on Health System Research (31 Oct – 3 Nov 2012) ที่ปักกิ่ง ผมเข้าฟังรายการGovernance improvement : The role of action research and reflective practice เมื่อวันที่ ๓ พ.ย. เวลา ๙.๓๐ – ๑๑.๐๐น.

ผมไปฟังด้วยคำถามว่า เขาขยายผลความรู้จาก action research อย่างไร และพบว่าเขามองแบบ generalization ความรู้ที่ได้จากแต่ละโครงการ

ที่เขานำมาเสนอคือ โครงการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ ในพื้นที่ระดับจังหวัดของเรา ที่เขาเรียก District เป็นโครงการในอัฟริกา โดยทุนช่วยเหลือและนักวิชาการดำเนินการจากประเทศตะวันตก โดยมีเป้าหมายคือพัฒนาระบบสุขภาพของพื้นที่ โดยพื้นที่เป็นเจ้าของโครงการ กำหนดปัญหา โจทย์ เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และระบบข้อมูลเพื่อติดตามผล สำหรับปรับยุทธศาสตร์เอง ทั้งหมดนั้นเป็นกระบวนการ Action และ Action Research

โดยมีโครงการมานำเสนอ ๓ โครงการ จาก ๓ ประเทศ และเชิญเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของพื้นที่มาสะท้อนความคิดเห็น พื้นที่ละ ๑ คน เป็นผู้หญิงทั้งหมด สรุปว่า ทั้ง ๓ โครงการได้ผลดี เกิดการเปลี่ยนแปลงจากฐานล่าง คือระดับพื้นที่ ตามที่ต้องการ

แล้วช่วงเวลาสำคัญสำหรับ KM ก็มาถึง เมื่ออภิปรายกันถึง generalization ซึ่งประธานของ session กล่าวว่า ต้องเอาข้อมูลจาก action มาทำ reflection เพื่อให้ได้ผลงานวิจัย สำหรับให้คนอื่นนำไปใช้ต่อ ผมก็เถียงในใจว่า สำหรับคนอื่นเอาไปใช้ต่อผ่านการวิจัยเป็นตัวกลาง ก็เป็นแนวทางหนึ่ง แต่แนวทางที่น่าจะได้ผลดีกว่า คือผ่าน KM ใครอยากใช้ความรู้จากทีมทำงานของแต่ละโครงการ ก็มาทำกระบวนการ Peer Assist กับทีมทำงานของโครงการ

Peer Assist ในฐานะเครื่องมือเรียนรู้ของทีมแบ่งปัน

Peer Assist (เพื่อนช่วยเพื่อน) คืออะไร อ่านได้จากที่เคยลงบันทึกไว้แล้ว (click)

มักเข้าใจกันผิด ๆ ว่าการดูงานเป็น PA อย่างหนึ่ง ผมคิด (ไม่ทราบว่าถูกหรือผิด) ว่าการดูงานจะเป็น PA หรือไม่ก็ได้ แล้วแต่กระบวนการที่ใช้

การดูงานที่ฝ่ายดูงานมาดู ๆ ซักถาม แล้วก็กลับ ไม่เป็น PA และฝ่ายผู้ขอเรียนรู้ก็จะได้ความรู้ฝังลึก/ความรู้ปฏิบัติกลับไปไม่มากนัก ที่ร้ายคือฝ่ายทีมแบ่งปันก็ได้เรียนรู้น้อยมากหรือไม่เกิดการเรียนรู้เลย

จำเป็นต้องออกแบบการดูงาน ให้เกิด synergy ระหว่างทีมแบ่งปันกับทีมขอเรียนรู้ ให้เกิดการเรียนรู้ทั้งสองฝ่าย มิฉะนั้นทีมแบ่งปันเมื่อมีคนมาขอดูงานมากเข้า ๆ ก็จะเบื่อ รู้สึกเป็นภาระ เราต้องออกแบบการดูงานให้ทีมแบ่งปันสนุกและได้เรียนรู้ ให้ “ยิ่งมีคนมาดูงานมาก เรายิ่งเก่งขึ้น”

ต้องใช้ PA เป็นเครื่องมือครับ

เพราะในกระบวนการ PA ฝ่ายทีมขอเรียนรู้ต้องเป็นผู้พูดก่อน เพื่อบอก “purpose ยกกำลังสอง” ของตนว่า
1. ตนต้องการบรรลุผลอะไร
2. ที่มา PA นี้ตนต้องการเรียนรู้อะไร

นอกจากนั้นทีมขอเรียนรู้ต้องบอกว่าเพื่อบรรลุผลตามข้อ 1 นั้นในเวลานี้ตนปฏิบัติหรือทำงานอย่างไร และมีแผนที่จะทำ (หรือปรับปรุงวิธีทำงาน) อย่างไร

แค่คิดให้ชัด ตั้งเป้าประสงค์ให้ชัด ทบทวนภาพรวมของวิธีทำงานร่วมกันของทีมขอเรียนรู้ ก็เป็นการเรียนรู้แล้วนะครับ

เพราะฉะนั้น ใน PA ทีมขอเรียนรู้จะได้เรียนรู้ตั้งแต่ตอนเตรียมเป็นทีมขอเรียนรู้แล้ว โดยกระบวนการ PA จริง ๆ ยังไม่เริ่มต้น

จะเห็นว่า PA ที่ดีต้องมีการเตรียมตัวมาก ต้องประณีตพิถีพิถันทั้งสองฝ่าย ตัวอย่าง PA ที่ดีอ่านได้ที่นี่ (click)

หน่วยงาน/ทีมงานใดทำ PA ด้วยเทคนิคที่ปรับใช้เองและพบวิธีที่ได้ผลสูง โปรดนำมาลง Gotoknow นะครับ เราจะตามไปให้รางวัล “สุดยอด PA” โดยที่เราจะทบทวนบล็อกทั้งหมดใน Gotoknow ในเดือนตุลาคม 2548 และประกาศผลรางวัลสุดยอด PA แห่งเดือนตุลาคม 2548 ภายในวันที่ 15 พ.ย.48 งานนี้จะมีคุณสุนทรีเป็นประธาน คุณวรรณาและ อ. กรกฎเป็นกรรมการครับ และต่อไปเราจะให้รางวัลนี้ทุก ๆ 3 เดือน แล้วสรุปยอดเป็นรางวัลสุดยอด PA แห่งปีด้วยครับ

ความรู้ที่สร้างขึ้นจาก Action เป็น Tacit Knowledge (TK)เกือบทั้งหมด เมื่อทำ reflection และสังเคราะห์เป็น Explicit Knowledge (EK) ก็ได้เป็นผลงานวิจัยแบบ Action Research เมื่อจะเอาไปใช้ที่อื่น ก็ต้องแปลง EK ไปเป็น TK ของอีกบริบทหนึ่ง แต่ Peer Assist เป็นการ ลปรร. TK โดยตรง ต่อกันง่ายกว่า และได้ ลปรร. ความรู้ส่วนที่เป็น contextual knowledge ด้วย ในสถานการณ์ที่ไม่ห่างไกลกัน การถ่ายทอด (หรือ ลปรร.) ความรู้ปฏิบัติผ่าน KM จึงได้ผลดีกว่า

แต่ในสถานการณ์ที่อยู่ห่างไกลกัน หรือต้องการเผยแพร่ความรู้ในวงกว้าง การถ่ายทอดผ่านการวิจัยและความรู้เชิงทฤษฎี (Explicit Knowledge) น่าจะได้ผลกว่า

ศาสตราจารย์วิจารณ์ พานิช
(Prof. Vicharn Panich)

๓ พ.ย. ๕๕

ปักกิ่ง